คำแนะนำในการเลือกใช้เหล็กตัวซี

เลือกใช้เหล็กตัวซีให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานให้ได้มากที่สุด

เหล็กตัวซี

       สิ่งสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่ผู้รับเหมาทั้งหลายต่างยกให้เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งนั่นก็คือ ‘โครงสร้างในการก่อสร้าง’ นั่นเอง เพราะการก่อสร้างในทุกๆ แบบนั้นการวางโครงสร้างเป็นเรื่องที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นในส่วนของขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการเลือกวัสดุอุปกรณ์ หรือแม้กระทั่งขั้นตอนการเลือกที่ปรึกษาผู้ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพราะฉะนั้นสำหรับบทความนี้เราจะมาเจาะลึกถึงวัสดุอุปกรณ์ที่มีส่วนสำคัญในการก่อสร้างและเราเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างประเภทใดก็ย่อมจะมีวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างที่ขึ้นชื่อว่าเหล็กเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยทั้งสิ้น แต่ในโลกของอุตสาหกรรมที่มีเหล็กเป็นวัสดุอุปกรณ์สำคัญก็ยังสามารถแบ่งประเภทของเหล็กได้อีกหลายประเภท อาทิเช่น เหล็กเส้นกลม, เหล็กข้ออ้อย, เหล็กรีดน้ำ, เหล็กรูปพรรณรีดร้อน, เหล็กไอบีม, เหล็กเอชบีม, เหล็กฉาก, เหล็กสีเหลี่ยมต้น, เหล็กรางน้ำ, เหล็กท่อกลมดำ เหล็กกล่องเหลี่ยม, เหล็กกล่องแบน, เหล็กฉากพับ หรือเหล็กตัวซี เป็นต้น แต่สำหรับบทความนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับเหล็กตัวซี พร้อมแจกคำแนะนำในการเลือกใช้เหล็กตัวซีให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานให้ได้มากที่สุด

เหล็กแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

       ก่อนที่เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับเหล็กตัวซี เราอยากให้ทุกคนทำความเข้าใจก่อนว่าเหล็กที่เห็นในปัจจุบันนั้นสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทหลักๆ ด้วยกัน อันได้แก่ เหล็กเสริม (Reinforcing Steel) และเหล็กรูปพรรณ (Structural Steel) โดยเหล็กทั้งสองประเภทมีลักษณะเด่นที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • เหล็กเสริม (Reinforcing Steel) : จะเป็นเหล็กที่มีลักษณะเด่นในเรื่องของความแข็งแรงทนทานสูง กล่าวคือสามารถทนต่อแรงอัด แรงดึงได้เป็นอย่างดีนิยมนำไปใช้เสริมในเนื้อของคอนกรีต โดยเหล็กเสริมยังสามารถแบ่งประเภทออกเป็นชื่อปลีกย่อยได้อีกมากมายตามลักษณะของรูปร่างและลักษณะของการนำไปใช้งาน ประกอบไปด้วย เหล็กเส้นกลม, เหล็กข้ออ้อย, เหล็กรีดซ้ำ และลวดเหล็กกล้าตีเกลียว เป็นต้น

  • เหล็กรูปพรรณ (Structural Steel) : สำหรับเหล็กตัวซีจะเป็นเหล็กที่อยู่ในประเภทเหล็กรูปพรรณ โดยเหล็กรูปพรรณจะมีลักษณะเด่นที่เป็นหน้าตัดและถูกออกแบบให้มีรูปทรงตามลักษณะต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานได้อย่างหลากหลาย ความพิเศษของเหล็กประเภทนี้คือยังสามารถแบ่งได้อีกสองประเภทใหญ่ๆ อันได้แก่ ประเภทย่อยที่หนึ่งคือเหล็กรูปพรรณรีดร้อน ประกอบด้วย เหล็กไอบีม, เหล็กเอชบีม, เหล็กฉาก และเหล็กสี่เหลี่ยมตัน เป็นต้น ประเภทย่อยที่สองคือเหล็กรูปพรรณรีดเย็น ประกอบด้วย เหล็กท่อกลมดำ, ท่อเหล็กอาบสังกะสี, เหล็กกล่องเหลี่ยม, เหล็กกล่องแบน และเหล็กตัวซี เป็นต้น แต่สำหรับบทความนี้เราจะไม่ขอเจาะลึกถึงประเภทของเหล็กทั้งสองแต่จะเน้นเฉพาะเหล็กตัวซี และเหล็กตัวซีจะมีลักษณะเด่นอย่างไร ไปอ่านพร้อมๆ กันเลย

ทำความรู้จักกับเหล็กตัวซี

       เหล็กตัวซี (C Light Lip Channel) เป็นเหล็กที่จัดอยู่ในประเภทเหล็กรูปพรรณ ส่วนใหญ่แล้วจะมีขนาดยาวหกเมตร (ผู้ใช้สามารถเลือกขนาดได้ตามที่ต้องการแต่ต้องเป็นการสั่งทำพิเศษเท่านั้น) โดยจะมีขนาดเริ่มต้นอยู่ที่ 50 x 30 x 10 x 1.6 (A x B x H x Tx T2) ซึ่งมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร เหล็กตัวซีจะมีส่วนประกอบสำคัญหลักๆ อยู่ประมาณห้าอย่าง อันได้แก่ คาร์บอน, แมงกานีส, กำมะถัน, ฟอสฟอรัส, และซิลิคอน เป็นต้น โดยการใช้งานทั่วไปของเหล็กตัวซีจะเหมาะสำหรับงานที่เป็นโครงสร้างทั่วๆ ไปที่ไม่มีความจำเป็นที่ต้องแบกรับน้ำหนักที่มากนัก แต่ถึงแม้ว่าคุณสมบัติของเหล็กตัวซีจะไม่ต้องรับน้ำหนักที่มากแต่เหล็กตัวซีก็จำเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยที่เป็นที่ยอมรับระดับสากลตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก 1228-2549) สำหรับการใช้งานหลักๆ ของเหล็กตัวซีก็มักจะถูกนำไปใช้งานในส่วนของการทำแปหลังคา, การทำเป็นเสาค้ำยันที่ไม่แบกรับน้ำหนักมากจนเกินไป และใช้เป็นโครงสร้างของอาคารต่างๆ อาทิเช่น โครงสร้างโรงงานอุตสาหกรรม, โครงสร้างของสะพาน หรือโครงสร้างของอาคารสูงต่างๆ เป็นต้น

วิธีการดูขนาดและความหนาของเหล็กตัวซี

       ขนาดของเหล็กตัวซีจะประกอบไปด้วยห้าขนาดด้วยกันโดยเริ่มตั้งแต่ 3 นิ้ว, 4 นิ้ว, 5 นิ้ว, 6 นิ้วและ 8 นิ้ว ส่วนความหนาของเหล็กตัวซีก็จะประกอบไปด้วย 1.6 มิลลิเมตร, 1.8 มิลลิเมตร, 2.0 มิลลิเมตร ,2.3 มิลลิเมตร, 3.2 มิลลิเมตร และ 4.0 มิลลิเมตร วิธีการเลือกขนาดและความหนาของเหล็กตัวซีจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรึกษาและขอคำแนะนำผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหรือผู้ที่ออกแบบโครงสร้างนั้นโดยตรงเพื่อความปลอดภัยทั้งระหว่างการก่อสร้างและหลังการก่อสร้าง โดยเหล็กตัวซีแต่ละชิ้นจะมีตัวเลขกำกับอยู่เพื่อบอกขนาดและความหนาวของเหล็กตัวซีนั้นๆ ดังตัวอย่างเช่น 100 x 50 x 20 x 3.2 x 6000 มิลลิเมตร ตัวเลขที่ปรากฏให้เห็นจะทำหน้าที่แตกต่างกันออกไปดังที่ยกตัวอย่าง ตัวเลข 100 จะหมายถึงด้านที่กว้างที่สุดของเหล็ก, ตัวเลข 50 จะหมายถึงปีกด้านที่ตั้งฉากกับด้านที่กว้างที่สุด, ตัวเลข 20 จะหมายถึงความกว้างของบริเวณที่พับเข้ามาจากปีก, ตัวเลข 3.2 จะหมายถึงความหนาของเหล็ก และตัวเลข 6000 จะหมายถึงความยาวของเหล็กตัวซี โดยความยาว 6000 มิลลิเมตรคนส่วนใหญ่จะเรียกความยาวของเหล็กตัวซีนี้ว่าเหล็กตัวซียาว 6 เมตรนั่นเอง

คำแนะนำในการเลือกใช้เหล็กตัวซี

       คุณสมบัติของเหล็กตัวซีที่ทำให้ใครหลายๆ หันมาเลือกใช้เหล็กตัวซีในโครงสร้างงานก่อสร้างๆ ต่าง จะประกอบไปด้วย เหล็กที่มีคุณภาพสูง, มีความแข็งแรงทนทาน, มีความคงทนต่อการกัดกร่อน, ไม่จำเป็นต้องทาหรือเคลือบสี และที่สำคัญไม่จำเป็นต้องเคลือบสารกันสนิม ด้วยคุณสมบัติเด่นหลากหลายประการนี้ส่งผลให้เหล็กตัวซีจึงเป็นที่นิยมของผู้ใช้งานก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นงานโรงงานอุตสาหกรรม, สะพาน หรืออาคารสูงต่างๆ เป็นต้น เพราะฉะนั้นบทความนี้จะมาขอพูดถึง ‘คำแนะนำในการเลือกใช้เหล็กตัวซี’ เพื่อที่ทุกคนจะได้ทราบและสามารถนำไปปรับใช้ในการเลือกเหล็กตัวซีให้เหมาะสมกับหน้างานให้ได้มากที่สุด

  • มีมาตรฐานสากลรองรับ : อย่างที่กล่าวไปข้างต้นสำหรับเหล็กตัวซีไม่ใช่เหล็กที่ถูกออกแบบให้สามารถรับน้ำหนักที่มากนักได้ แต่ถึงอย่างไรก็จำเป็นต้องตรวจสอบมาตรฐานให้ดีก่อนทำการเลือกซื้อ

  • ตรวจเช็คน้ำหนักของเหล็กตัวซี : ก่อนเลือกซื้อเหล็กตัวซีคุณภาพ พยายามไม่ตรวจเช็คน้ำหนักโดยตาเปล่าแต่ควรชั่งวัดน้ำหนักของเหล็กตัวซีให้ชัดเจนก่อนทำการเลือกซื้อ

  • เหล็กตัวซีข้อพับต้องตั้งฉาก : เสมือนเป็นการตรวจเช็คคุณภาพของสินค้า เหล็กตัวซีคุณภาพข้อพับจำเป็นต้องตั้งฉากกัน

  • ความยาวต้องได้มาตรฐาน : อย่างที่กล่าวไปข้างต้นมาตรฐานสากลของเหล็กตัวซีจะมีความยาวหกเมตร นับได้ว่าเป็นขนาดมาตรฐาน

  • เหล็กตัวซีต้องมีความยาวเท่ากันทุกเส้น : ในกรณีที่ต้องซื้อเหล็กตัวซีจำนวนมากในครั้งเดียว ผู้ซื้อควรตรวจเช็คคุณภาพโดยเบื้องต้นสามารถดูได้จากความยาวของเหล็กตัวซี หากร้านผู้จัดจำหน่ายมีมาตรฐานและคุณภาพระดับสูงความยาวของเหล็กตัวซีมักจะมีความยาวที่เท่ากัน

  • ตัวเลขบนเหล็กตัวซีปรากฏชัดเจน : ไม่ว่าจะเป็นเครื่องหมายการค้า ยี่ห้อหรือแบรนด์ ต้องปรากฏให้เห็นชัดเจน

  • ไม่มีร่องรอยของสนิม : เหล็กตัวซีคุณภาพจะต้องไม่มีร่องรอยของสนิมนอกจากสีธรรมชาติของเหล็กจึงจะถือได้ว่าเป็นเหล็กตัวซีคุณภาพ

 

        ไวต้า ธานี ได้ลิสต์คำแนะนำในการเลือกใช้เหล็กตัวซีที่คิดว่าสำคัญและสามารถสังเกตได้ด้วยตัวเองเพื่อที่ทุกคนจะได้นำไปปรับใช้และเลือกเหล็กตัวซีที่มีคุณภาพดีที่สุดสำหรับคุณ แต่สำหรับใครที่ยังไม่แน่ใจและอยากขอคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหล็กตัวซีสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ เรามีผู้เชี่ยวชาญคอยให้บริการพร้อมทั้งดิลราคาที่สมเหตุสมผลไม่ว่าจะเป็นราคาปลีกหรือราคาส่ง


สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
บริษัท ไวต้า ธานี จำกัด
Tel : 094-4122337 (สายด่วน)
E-mail : vita.steel18@gmail.com
LINE : https://line.me/ti/p/%40edo4950u
Facebook : บจก.ไวต้า ธานี